วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ส่ง4ข้อ

1.e-commerce

ตอบ

2.การทำโฆษณาโลกออนไลน์

ตอบ การโฆษณาออนไลน์ คือ การสร้างความสนใจไม่ว่าวิธีใดก็ตาม เพื่อจูงใจหรือสนับสนุนให้เกิดความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการโดยผ่านทางอินเทอร์เน็ต[1]

4. พรบ.คอมพิวเตอร์

ตอบ
เมื่อวันจันทร์ที่28 มี.ค. 54 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จัด ประชุมรับฟังและให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติว่า ด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยเชิญตัวแทนผู้ประกอบการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยในการประชุมดังกล่าว มีการแจกเอกสารร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ที่กระทรวงไอซีทีจัดทำขึ้นด้วย
ร่างกฎหมายนี้ เขียนขึ้นเพื่อให้ยกเลิกพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์พ.ศ. 2550 ทั้ง ฉบับ และให้ใช้ร่างฉบับใหม่นี้แทน อย่างไรก็ดี โครงสร้างของเนื้อหากฎหมายมีลักษณะคล้ายคลึงฉบับเดิม โดยมีสาระสำคัญที่ต่างไป ดังนี้
ประเด็นที่1 เพิ่มนิยาม “ผู้ดูแลระบบ”
มาตรา4 เพิ่ม นิยามคำว่า “ผู้ดูแลระบบ” หมายความว่า “ผู้มีสิทธิเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการแก่ผู้อื่นในการเข้าสู่อิน เทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น”
ใน กฎหมายเดิมมีการกำหนดโทษของ “ผู้ให้บริการ” ซึ่งหมายถึงผู้ที่ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่า การพยายามเอาผิดผู้ให้บริการซึ่งถือเป็น “ตัวกลาง” ในการสื่อสาร จะส่งผลต่อความหวาดกลัวและทำให้เกิดการเซ็นเซอร์ตัวเอง อีกทั้งในแง่ของกฎหมายคำว่าผู้ให้บริการก็ตีความได้อย่างกว้างขวาง คือแทบจะทุกขั้นตอนที่มีความเกี่ยวข้องในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารก็ล้วนเป็น ผู้ให้บริการทั้งสิ้น
สำหรับ ร่างฉบับใหม่ที่เพิ่มนิยามคำว่า “ผู้ดูแลระบบ” ขึ้นมานี้ อาจหมายความถึงเจ้าของเว็บไซต์ เว็บมาสเตอร์ แอดมินระบบเครือข่าย แอดมินฐานข้อมูล ผู้ดูแลเว็บบอร์ด บรรณาธิการเนื้อหาเว็บ เจ้าของบล็อก ขณะที่ “ผู้ให้บริการ” อาจหมายความถึงผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
ตาม ร่างกฎหมายนี้ ตัวกลางต้องรับโทษเท่ากับผู้ที่กระทำความผิด เช่น หากมีการเขียนข้อมูลที่ไม่ตรงกับความจริง กระทบกระเทือนต่อความมั่นคง ผู้ดูแลระบบและผู้ให้บริการที่จงใจหรือยินยอมมีความผิดทางอาญาเท่ากับผู้ที่ กระทำความผิด และสำหรับความผิดต่อระบบคอมพิวเตอร์ เช่นการเจาะระบบ การดักข้อมูล หากผู้กระทำนั้นเป็นผู้ดูแลระบบเสียเอง จะมีโทษ1.5 เท่าของอัตราโทษที่กำหนดกับคนทั่วไป
ประเด็นที่ 2 คัดลอกไฟล์ จำคุกสูงสุด 3 ปี 
สิ่งใหม่ในกฎหมายนี้ คือมีมาตรา16 ที่ เพิ่มมาว่า “ผู้ใดสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
ทั้งนี้ การทำสำเนาคอมพิวเตอร์ อาจหมายถึงการคัดลอกไฟล์ การดาว์นโหลดไฟล์จากเว็บไซต์ต่างๆ มาตรานี้อาจมีไว้ใช้เอาผิดกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์หรือเพลง แต่แนวทางการเขียนเช่นนี้อาจกระทบไปถึงการแบ็กอัปข้อมูล การเข้าเว็บแล้วเบราว์เซอร์ดาว์นโหลดมาพักไว้ในเครื่องโดยอัตโนมัติหรือที่ เรียกว่า “แคช” (cache เป็น เทคนิคที่ช่วยให้เรียกดูข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น โดยเก็บข้อมูลที่เคยเรียกดูแล้วไว้ในเครื่อง เพื่อให้การดูครั้งต่อไป ไม่ต้องโหลดซ้ำ) ซึ่งผู้ใช้อาจมิได้มีเจตนาหรือกระทั่งรับรู้ว่ามีกระทำการดังกล่าว
ประเด็นที่ 3 มีไฟล์ลามกเกี่ยวกับเด็ก ผิด
ในมาตรา25 “ผู้ ใดครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งมีลักษณะอันลามกที่เกี่ยวข้องกับเด็กหรือ เยาวชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
เป็นครั้งแรกที่มีการระบุขอบเขตเรื่องลามกเด็กหรือเยาวชนโดยเฉพาะขึ้น แต่อย่างไรก็ดี ยังมีความคลุมเครือว่า ลักษณะอันลามกที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนนั้นหมายความอย่างไร นอกจากนี้ มาตราดังกล่าวยังเป็นการเอาผิดที่ผู้บริโภค ซึ่งมีความน่ากังวลว่า การชี้วัดที่ “การครอบครอง” อาจทำให้เกิดการเอาผิดที่ไม่เป็นธรรม เพราะธรรมชาติการเข้าเว็บทั่วไป ผู้ใช้ย่อมไม่อาจรู้ได้ว่าการเข้าชมแต่ละครั้งดาว์นโหลดไฟล์ใดมาโดย อัตโนมัติบ้าง และหากแม้คอมพิวเตอร์ถูกตรวจแล้วพบว่ามีไฟล์โป๊เด็ก ก็ไม่อาจหมายความได้ว่าผู้นั้นเป็นเจ้าของ หรือเป็นผู้ดูผู้ชม
ประเด็นที่ 4 ยังเอาผิดกับเนื้อหา
มาตรา24 (1) นำ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชน
เนื้อความข้างต้น เป็นการรวมเอาข้อความในมาตรา14 (1) และ (2) ของ กฎหมายปัจจุบันมารวมกัน ทั้งนี้ หากย้อนไปถึงเจตนารมณ์ดั้งเดิมก่อนจะเป็นข้อความดังที่เห็น มาจากความพยายามเอาผิดกรณีการทำหน้าเว็บเลียนแบบให้เข้าใจว่าเป็นหน้าเว็บ จริงเพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนบุคคล (phishing) จึง เขียนกฎหมายออกมาว่า การทำข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมถือเป็นความผิด แต่เมื่อแนวคิดนี้มาอยู่ในมือนักกฎหมายและเจ้าหน้าที่ ได้ตีความคำว่า “ข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม” เสียใหม่ กลายเป็นเรื่องการเขียนเนื้อหาอันเป็นเท็จ และนำไปใช้เอาผิดฟ้องร้องกันในเรื่องการหมิ่นประมาท ความเข้าใจผิดนี้ยังดำรงอยู่และต่อเนื่องมาถึงร่างนี้ซึ่งได้ปรับถ้อยคำใหม่ และกำกับด้วยความน่าจะเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่น ตระหนกแก่ประชาชน มีโทษจำคุกสูงสุด ห้าปี ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หาก พิจารณาจากประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่รัฐในการดำเนินคดีคอมพิวเตอร์ที่ผ่านมา ปัญหานี้ก่อให้เกิดการเอาผิดประชาชนอย่างกว้างขวาง เพราะหลายกรณี รัฐไทยเป็นฝ่ายครอบครองการนิยามความจริง ปกปิดความจริง ซึ่งย่อมส่งผลให้คนหันไปแสดงความคิดเห็นในอินเทอร์เน็ตแทน อันอาจถูกตีความได้ว่ากระทบต่อความไม่มั่นคงของ “รัฐบาล” ข้อความกฎหมายลักษณะนี้ยังขัดต่อสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิด เห็นโดยไม่จำเป็น
ประเด็นที่5 ดูหมิ่น ผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
มาตรา26 ผู้ ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพ ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น หรือข้อมูลอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้บุคคลอื่นเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย หรือเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นข้อมูลที่แท้จริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ที่ผ่านมามีความพยายามฟ้องคดีหมิ่นประมาทซึ่งกันและกันโดยใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์จำนวนมาก แต่การกำหนดข้อหายังไม่มีมาตราใดในพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่จะใช้ได้อย่างตรงประเด็น มีเพียงมาตรา 14 (1) ที่ระบุเรื่องข้อมูลอันเป็นเท็จดังที่กล่าวมาแล้ว และมาตรา 16 ว่าด้วยภาพตัดต่อ ในร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ได้สร้างความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ใช้ตั้งข้อหาการดูหมิ่นต่อกันได้ง่ายขึ้นข้อสังเกตคือ ความผิดตามร่างฉบับใหม่นี้กำหนดให้การดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาทมีโทษจำคุกสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท ทั้งที่การหมิ่นประมาทในกรณีปกติ ตามประมวลกฎหมายอาญามีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
ประเด็นที่6 ส่งสแปม ต้องเปิดช่องให้เลิกรับบริการ
มาตรา21 ผู้ ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เป็นจำนวนตามหลักเกณฑ์ที่ รัฐมนตรีประกาศกำหนด เพื่อประโยชน์ทางการค้าจนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเดือดร้อนรำคาญ และโดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ สามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จากที่กฎหมายเดิมกำหนดเพียงว่า การส่งจดหมายรบกวน หากเป็นการส่งโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา ถือว่าผิดกฎหมาย ในร่างฉบับใหม่แก้ไขว่า หากการส่งข้อมูลเพื่อประโยชน์ทางการค้า โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการ บอกรับได้ ทั้งนี้อัตราโทษลดลงจากเดิมที่กำหนดโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท มาเป็นจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ ยังต้องตั้งข้อสังเกตด้วยว่า หากการส่งข้อมูลดังกล่าว แม้จะเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเดือดร้อนรำคาญ แต่ไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ทางการค้า ก็จะไม่ผิดตามร่างฉบับใหม่นี้
ประเด็นที่7 เก็บโปรแกรมทะลุทะลวงไว้ คุกหนึ่งปี
มาตรา23 ผู้ ใดผลิต จำหน่าย จ่ายแจก ทำซ้ำ มีไว้ หรือทำให้แพร่หลายโดยประการใด ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ชุดคำสั่ง หรืออุปกรณ์ที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความ ผิดตามมาตรา 15 มาตรา 16 มาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 19 และมาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
น่าสังเกตว่า เพียงแค่ทำซ้ำ หรือมีไว้ซึ่งโปรแกรมที่ใช้เจาะระบบ การก๊อปปี้ดาวน์โหลดไฟล์อย่างทอร์เรนท์ การดักข้อมูล การก่อกวนระบบ ก็มีความผิดจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท เรื่องนี้น่าจะกระทบต่อการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์โดยตรง
ประเด็นที่ 8 เพิ่มโทษผู้เจาะระบบ
สำหรับกรณีการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ เดิมกำหนดโทษจำคุกไว้ไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ร่างกฎหมายใหม่เพิ่มเพดานโทษเป็นจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท(เพิ่มขึ้น 4 เท่า)
ประเด็นที่ 9 ให้หน้าที่หน่วยใหม่ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
ร่างกฎหมายนี้กำหนดหน้าที่ให้หน่วยงานซึ่งมีชื่อว่า “สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)” เรียกโดยย่อว่า “สพธอ.” และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)” เรียกโดยย่อว่า “ETDA” เป็นองค์การมหาชนภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงไอซีที
หน่วยงานนี้เพิ่งตั้งขึ้นเป็นทางการ ประกาศผ่าน “พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิสก์ พ.ศ. 2554” เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 54 โดยเริ่มมีการโอนอำนาจหน้าที่และจัดทำระเบียบ สรรหาประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มี.. 54
ในร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่นี้ กำหนดให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) มีบทบาทเป็นฝ่ายเลขานุการของ “คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์” ภายใต้ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับที่กำลังร่างนี้
นอกจากนี้ หากคดีใดที่ต้องการสอบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดซึ่งอยู่ในต่างประเทศ จะเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ในร่างกฎหมายนี้กำหนดว่า พนักงานสอบสวนอาจร้องขอให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(องค์การมหาชน) เป็นผู้ประสานงานกลางให้ได้ข้อมูลมา
ประเด็นที่10 ตั้งคณะกรรมการ สัดส่วน 8 – 3 – 0 : รัฐตำรวจ-ผู้ทรงคุณวุฒิ-ประชาชน
ร่างกฎหมายนี้เพิ่มกลไก“คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์” ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นรองประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ผู้ อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยระบุตัวบุคคลจากผู้มี ความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านกฎหมาย วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การเงินการธนาคาร หรือสังคมศาสตร์จำนวนสามคน โดยให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี
คณะกรรมการชุดนี้ ให้ผู้แทนจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(องค์กรมหาชน), สำนักงานกำกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (สังกัดกระทรวงไอซีที), สำนักคดีเทคโนโลยี (สังกัดกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม), และ กลุ่มงานตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำความผิดทางเทคโนโลยี กองบังคับการสนับสนุนทางเทคโนโลยี (บก.สสท.) (สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) เป็นเลขานุการร่วมกัน
คณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจหน้าที่แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ออกระเบียบ ประกาศ ตามที่กำหนดในพ.ร.บ.นี้ และมีอำนาจเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือส่งเอกสารหลักฐาน รวมถึง “ปฏิบัติการอื่นใด” เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ โดยให้ถือว่าคณะกรรมการและอนุกรรมการเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

รูปแบบการโฆษณาที่เป็นที่นิยมที่สุดบนสื่อออนไลน์ คือการใช้แถบโฆษณา การโฆษณารูปแบบนี้มีให้เห็นอยู่ทั่วไปตามเว็บไซต์ต่างๆ และถ้าเจ้าของสินค้าต้องการเพิ่มความเด่นให้กับโฆษณาของตนเอง ก็อาจจะเลือกใช้สื่อโฆษณาแบบลอย และในบางกรณี เจ้าของสินค้าหรือบริการอาจจะไม่อยากตั้งใจขายสินค้าของตนเองอย่างจงใจ ก็สามารถเลือกการโฆษณาแฝงตามสื่อออนไลน์ในรูปแบบอื่น[2]
3.สิขสิทธิ์บนโลกออนไลน์
ตอบลิขสิทธิ์ (©) หมายถึง สิทธิแต่ผู้เดียวที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ตนได้ทำขึ้น อันได้แก่ สิทธิที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำออกโฆษณา ไม่ว่าในรูปลักษณะอย่างใดหรือวิธีใด รวมทั้งอนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปทำเช่นว่านั้นด้วย
สนธิสัญญากรุงเบิร์นเป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ โดยประเทศภาคีสมาชิกในสนธิสัญญานี้ จะมีการคุ้มครองลิขสิทธิ์เสมอเหมือนกัน เสมือนว่าทุกๆ ประเทศสมาชิกเป็นประเทศเดียวกัน เช่น กรณีมีการสร้างสรรค์งานเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา งานชิ้นนั้นก็จะได้รับการคุ้มครองในประเทศไทย ตามกฎหมายไทย ด้วยเช่นกัน เพราะทั้งสหรัฐอเมริกาและประเทศไทยต่างได้ลงนามในสนธิสัญญานี้

[แก้] ระบบลิขสิทธิ์ของประเทศไทย

การคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามกฎหมายไทยจะกำหนดให้มีอายุการคุ้มครอง 50 ปี นับตั้งแต่ผู้สร้างสรรค์ผลงานเสียชีวิต กรณี เจ้าของ เป็น นิติบุคคล จะเริ่มนับอายุ ตั้งแต่ ผลงานถูกสร้างขึ้นมานับไปอีก 50 ปี หรือ เริ่มนับเมื่อมีการโฆษณาเป็นครั้งแรก แล้วแต่ว่าอย่างไหนจะเกิดทีหลัง แต่การโฆษณาครั้งแรกนั้นจะต้องเกิดขึ้นภายใน 50 ปี นับตั้งแต่มีการสร้างสรรค์ผลงานนั้นขึ้นมา ถ้าพ้น 50 ปีไปแล้ว โดยที่ยังไม่ได้มีการโฆษณา ถือว่าลิขสิทธิ์หมดอายุ โดยที่การโฆษณาในภายหลัง จะไม่มีผลต่อการนับต่ออายุลิขสิทธิ์อีก การโฆษณานี้จะต้องเป็นการโฆษณาโดยความยินยอมของเจ้าของลิขสิทธิ์ด้วย จึงจะนับเป็นการโฆษณาครั้งแรก ที่ให้เริ่มนับอายุลิขสิทธิ์ได้
ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย จะมีข้อยกเว้นในงานบางประเภท ที่จะมีอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ต่างออกไป ได้แก่ ศิลปประยุกต์ จะมีอายุคุ้มครองเพียง 25 ปี งานบางชนิดที่สร้างสรรค์โดยบุคคลธรรมดาที่ไม่ใช่นิติบุคคล ก็จะมีข้อยกเว้นให้เริ่มนับอายุเช่นเดียวกับ กรณีนิติบุคคล คือ เริ่มนับตั้งแต่ได้มีการสร้างงานขึ้น หรือ ตั้งแต่โฆษณาครั้งแรก (แทนที่จะนับตั้งแต่ผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต) งานเหล่านั้น ได้แก่ ภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียงหรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ งานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการจ้างหรือตามคำสั่ง รวมถึง ศิลปประยุกต์ งานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยผู้สร้างสรรค์ใช้นามแฝงหรือไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์ และ ไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ก็ให้เริ่มนับอายุลิขสิทธิ์ในลักษณะเดียวกับนิติบุคคล
กฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับแรกของประเทศไทยคือ ประกาศหอพระสมุดวชิรญาณ ร.ศ. 111 (พ.ศ. 2435) เป็นการคุ้มครองเพื่อมิให้ผู้ใดนำความต่าง ๆ ในหนังสือวชิรญาณวิเศษไปตีพิมพ์ เย็บเป็นเล่มหรือเป็นเรื่อง นอกจากได้รับอนุญาตจากกรมสัมปาทิกสภา [1]

[แก้] ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์

การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นปัญหาที่สำคัญอีกปัญหาหนึ่ง สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น ซีดีเพลง (มักเป็นซีดีรวมไฟล์เพลงประเภท MP3) วีซีดีและดีวีดีภาพยนตร์ ทั้งภาพยนตร์ไทยและต่างประเทศ รวมไปถึง ซอฟต์แวร์ เกม และโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ โดยสถานที่ที่มีปัญหาเรื่องการจำหน่ายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์มาก ได้แก่ พันธุ์ทิพย์พลาซ่า, คลองถม, เซียร์ รังสิต, ตะวันนา เป็นต้น[2] ซึ่งสามารถพบเห็นและหาซื้อสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ได้โดยง่าย สะท้อนให้เห็นถึงการไม่เอาจริงเอาจัง ในการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ และการที่ผู้ซื้อไม่เห็นความสำคัญของการละเมิดลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินทางปัญญา
ประเทศไทยอยู่ในอันดับต้น ๆ ของประเทศที่มีปัญหาเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์[ต้องการอ้างอิง] โดยในปี พ.ศ. 2550 นั้น ประเทศไทยมีการละเมิดลิขสิทธิ์สูงสุดเป็นอันดับ 4 ในเอเชียแปซิฟิก[3] ส่งผลเสียต่อชื่อเสียงและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ความสำคัญของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
          เนื่องมาจากอัตราการเติบโตของการใช้อินเตอร์เน็ตและการเพิ่มขึ้นของเว็บไซต์ทางธุรกิจที่มีอย่าง
ต่อเนื่อง ทำให้การประกอบธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางการตลาดขนาดใหญ่ของโลก
ไร้พรมแดนที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายได้โดยตรงอย่างรวดเร็ว ไร้ขีดจำกัดของเรื่องเวลาและ
สถานที่ การแข่งขันทางการค้าเสรีและระหว่างประเทศที่ต้องแข่งขันและชิงความได้เปรียบกันที่“ความเร็ว”
ทั้งการนำเสนอสินค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์มีความสำคัญอย่างยิ่งในสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้
ู้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการประกอบธุรกิจในปัจจุบันและได้รับความนิยม
เพิ่มการแข่งขันเป็นลำดับ

กรอบแนวคิดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  • กรอบแนวคิดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
    • แอพพลิเคชั่นของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
    • ปัจจัยทางการบริหาร
    • โครงสร้างพื้นฐาน
    • ประเภทสินค้าของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

    สำหรับสินค้าที่ซื้อขายในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จำแนกได้ดังนี้

         - สินค้าที่มีลักษณะเป็นข้อมูลดิจิทัล (Digital Products)
         - สินค้าที่ไม่ใช่ข้อมูลดิจิทัล (Non-Digital Products)
ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

     
   
     
ความสำคัญของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
          เนื่องมาจากอัตราการเติบโตของการใช้อินเตอร์เน็ตและการเพิ่มขึ้นของเว็บไซต์ทางธุรกิจที่มีอย่าง
ต่อเนื่อง ทำให้การประกอบธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางการตลาดขนาดใหญ่ของโลก
ไร้พรมแดนที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายได้โดยตรงอย่างรวดเร็ว ไร้ขีดจำกัดของเรื่องเวลาและ
สถานที่ การแข่งขันทางการค้าเสรีและระหว่างประเทศที่ต้องแข่งขันและชิงความได้เปรียบกันที่“ความเร็ว”
ทั้งการนำเสนอสินค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์มีความสำคัญอย่างยิ่งในสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้
ู้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการประกอบธุรกิจในปัจจุบันและได้รับความนิยม
เพิ่มการแข่งขันเป็นลำดับ

กรอบแนวคิดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  • กรอบแนวคิดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
    • แอพพลิเคชั่นของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
    • ปัจจัยทางการบริหาร
    • โครงสร้างพื้นฐาน
    • ประเภทสินค้าของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

    สำหรับสินค้าที่ซื้อขายในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จำแนกได้ดังนี้

         - สินค้าที่มีลักษณะเป็นข้อมูลดิจิทัล (Digital Products)
         - สินค้าที่ไม่ใช่ข้อมูลดิจิทัล (Non-Digital Products)
ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

     
   
     
   
?? คือ การดำเนินธรุกิจการค้าหรือการซื้อขายบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เนต โดยผู้ซื้อ (Customer) สามารถดำเนินการ? เลือกสินค้า คำนวนเงิน ตัดสินใจซื้อสินค้า โดยใช้วงเงินในบัตรเครดิต ได้โดยอัตโนมัติ ผู้ขาย (Business) สามารถนำเสนอสินค้า? ตรวจสอบวงเงินบัตรเครดิตของลูกค้า รับเงินชำระค่าสินค้า ตัดสินค้าจากคลังสินค้า และประสานงานไปยังผู้จัดส่งสินค้า? โดยอัตโนมัติ กระบวนการดังกล่าวจะดำเนินการเสร็จสิ้นบนระบบเครือข่าย Internet
ข้อดี1.เปิดดำเนินการค้า 24 ชั่วโมง
2.ดำเนินการค้าอย่างไร้พรมแดนทั่วโลก
3.ใช้งบประมาณลงทุนน้อย
4.ตัดปัญหาด้านการเดินทาง
5.ง่ายต่อการประชาสัมพัธ์โดย สามารถประชาสัมพันธ์ได้ทั่วโลก
ข้อเสีย
1.ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ
2.ประเทศของผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับอย่างมีประสิทธิภาพ
3.การดำเนินการด้านภาษีต้องชัดเจน
4.ผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานในเทคโนโลยีอินเทอร์เนต

ขั้นตอนการเปิดร้านเพื่อดำเนินการค้า E-Commerce
ระบบความปลอดภัย
1.Encryption เป็นการเข้ารหัสและถอดรหัส
ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำกิจกรรมซื้อขายในเครือข่ายอินเทเอร์เนต?
หรือระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ เป็นระบบนี้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปบนอินเทอร์เนต

2.Authentication เป็นระบบตรวจสอบ ซึ่งจะตรวจสอบว่า
เป็นผู้ได้รับอนุญาตตัวจริงให้เข้าถึงระบบและบริการในชั้นที่กำหนดให้
โดยให้แจ้งข้อมูล? Password ของผู้ได้รับอนุญาต

3.Firewalls เป็นระบบที่ทำงานร่วมกันระหว่าง Hard และ Software โดย Firewalls
จะวางอยู่ระหว่าง เครือข่ายภายในองค์กร (Local Network)
และ เครือข่ายภายนอก (Internet)?
เพื่อป้องกันการบุกรุกจากจากบุคคลภายนอกที่ไม่ได้รับอนุญาต
เข้ามาขโมยข้อมูลหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล (Hacker)
โดยผ่านทางเครือข่ายภายนอก (Internet)

4.PKI System (Public Infrastructure) เป็นกลุ่มข้อ Security Services
ซึ่งปกติจัดให้โดย Certificate (CA),?
Authentication, Encryption และ Certificate Management
ใช้เทคโนโลยีการเข้าและถอดรหัสโดยกุณแจสาธารณะ
 

25 ข้อ

คำชี้แจง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

ข้อที่1)  ข้อใดเป็นประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต  
ก. เป็นแหล่งสำหรับค้นหาความรู้ขนาดใหญ่

ข้อที่ 2) โปรโตคอล หรือ ภาษากลางที่ใช้เป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น คือ โปรโตคอลใด    
ค. โปรโตคอล TCP/IP

ข้อที่ 3)  ข้อใดคือความหมายของคำว่า "โดเมนเนม " (Domain Name)   
ค.เป็นชื่อที่ใช้เรียกแทนตัวเลขไอพีแอดเดรสของเครื่อง

ข้อที่ 4)  192.168.1.99 หมายเลขดังกล่าวคืออะไร
ค.หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเครือข่าย
  
ข้อที่ 5)  ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์   
ง. เครื่องเวิร์คสเตชั่น

ข้อที่ 6)  สาย Lead Line เหมาะสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ณ สถานที่ใด   
ก.เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวของที่บ้าน
   
ข้อที่ 7)  สำหรับ URL ของเว็บเพจ http://www.singburivc.ac.th/home/index.php ส่วนใด คือส่วนที่เป็น Host name ของ URL   
ข.www.samakkee.ac.th

ข้อที่ 8)  สำหรับ URL ของเว็บเพจ http://www.singburivc.ac.th/home/index.php ส่วนใดคือส่วนที่เป็น "ส่วนระบุตำแหน่ง" ของ URL  
ง. index.php

ข้อที่ 9)  สำหรับตัวย่อนามสกุลชอง URL ที่เป็น .net นั้น บอกเราได้ว่าเจ้าของเว็บไซต์มาจากองค์กรใด    
ก.บริษัท 

ข้อที่ 10)  เว็บไซต์ www.boga.gov บอกเราได้ว่าเจ้าของเว็บไซต์มาจากองค์กรใด   
  ข.องค์กรรัฐบาล

ข้อที่ 11)  ปุ่มคำสั่งใดบน Inrenet Explorer ที่ควรเลือกใช้ เมื่อมีปัญหาในการโหลดเว็บเพจ    
ค. ปุ่ม Refresh

ข้อที่ 12)  หากต้องการกระโดดไปยังหน้าเว็บเพจที่เคยเปิดชมเมื่อวานนี้ ควรเลือกใช้ปุ่มคำสั่งใด    
ก.ปุ่ม Go To

ข้อที่ 13)  ป๊อบอัพ คืออะไร    
ค. หน้าต่างเว็บใหม่ที่เปิดขึ้นมาในระหว่างที่เราท่องเว็บอยู่

ข้อที่ 14)  เราจะดาวน์โหลดไฟล์ในอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยได้อย่างไร    
ง. ถูกทั้ง ก และ ค.

ข้อที่ 15)  www.google.co.th สามารถค้นหาสิ่งใดได้บ้างบนอินเทอร์เน็ต    
ง. ถูกทุกข้อ

ข้อที่ 16)  ไฟล์วอล์ (Firewall) คืออะไร    
ก. ระบบป้องกันผู้บุกรุก

ข้อที่ 17)  การสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ตมีกี่รูปแบบ    
ค. 3 รูปแบบ
 
ข้อที่ 18)  โปรแกรมใดไม่ใช่โปรแกรมสำหรับสนนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต    
ง. Internet Explprer

ข้อที่ 19)  ไวรัสคอมพิวเตอร์ คืออะไร    
ค.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พยายามเข้ามาในเครื่อง

ข้อที่ 20)  ข้อใดไม่ใช่โปรแกรม Anti Virus    
ข. Nero

ข้อที่ 21)  Bit torrent คืออะไร    
ข. โปรแกรมแลกเปลี่ยนไฟล์ผ่านอินเทอร์เน็ต

ข้อที่ 22)  ข้อใดเป็นโปรแกรมประเภท Bit torrent      
ข.Bit Comet

ข้อที่ 23)  E - Mail คืออะไร    
ค. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์

ข้อที่ 24) ข้อใดไม่ใช่ E - Mail    
ค. singburi.singburivc.ac.th

ข้อที่ 25) เว็บใดไม่สามารถสมัครใช้บริการ E - Mail ได้    
ก. www.singburivc.ac.th